พระราชนิเวศน์มฤคทายวันLove and hope Palaceพระราชวังที่เต็มไปด้วยความรักและความหวัง‘พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน’ หรือ ‘Love and hope Palace’ มรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ตัวอาคารสร้างจากไม้สักทองทั้งหลัง งดงามหาที่เปรียบมิได้ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มรื่นต้นน้อยใหญ่มากมาย หาดทรายสีขาวสะอาด น้ำทะเลสีมรกต ผสานกับเสียงเกลียวคลื่นที่ดังกระทบฝั่ง ไม่ว่าใครที่มายังพระราชวังแห่งนี้จะต้องอยากอยู่ ณ ที่นี้นานๆ พระราชวังที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง สืบเนื่องจากคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระครรภ์พระราชโอรสองค์แรก ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าพระองค์จะทรง มีพระราชโอรส แต่ความหวังนั้นก็สูญสลายมลายสิ้น เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ณ พระที่นั่งสมุทรพิมาน พระองค์ทรงอภิบาลพระนางเจ้าฯด้วยน้ำพระทัยที่เป็นห่วงแล้วเศร้ายิ่งนัก พระราชวังที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ณ ที่นี้ยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบังเกิดพระราชประดิพัทธ์ ในความรักครั้งต่อมากับคุณสุวัทนา หรือพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีตามที่ได้สถาปนา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พร้อมกับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีอีกครั้งในคราวที่ พระนางเจ้าสุวัทนาฯทรงมีพระครรภ์ ในวันที่ 12 เมษายน – วันที่ 20 มิถุนายน 2468 และในครั้งนี้เอง ที่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชวังที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความหวังเป็นครั้งสุดท้าย เสมือนการได้เสด็จมาอำลาพระราชวังที่พระองค์ทรงรักอย่างแท้จริง หลังจากนั้นเป็นเวลา 5 เดือน เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนาฯประสูติกาลพระราชธิดาแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 ในเขตพื้นที่ตำรวจตระเวนชายแดนค่ายพระรามหก พระราชวังแห่งนี้ ประกอบด้วยพระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ ที่ปลูกเรียงไปตามแนวชายหาด มีการสร้างแบบยุโรป โดยใช้ความตั้งใจและพยายามที่จะสร้างที่ประทับให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ ที่มีความร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี ด้วยการทำใต้ถุนอาคารให้เปิดโล่งเพื่อรับลมทะเลเย็นๆที่พัดเข้ามา ทำให้พระที่นั่งทุกหลังมีความเย็นสบายตลอดทั้งวัน หลังคาทรงปั้นหยาเพื่อให้กันแดดกันฝน กระเบื้องที่นำมามุงหลังคาทำ ด้วยซีเมนต์เคลือบด้วยสีแดง แนวระเบียงที่เชื่อมต่อระหว่างพระที่นั่งใหญ่ทั้ง 3 หลัง ที่ช่วยให้การเดินไปมาระหว่างอาคารมีความสะดวกและปลอดภัย ทำให้ไม่ต้องเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ตัวพื้นระเบียงนั้นก็สร้างด้วยไม่สักลงเงาดูสวยงามนัก ส่วนเพดานนั้นมีการทำเลียนแบบคล้าย กับสถาปัตยกรรมของยุโรป โดยการใช้คานไม้ดัดโค้งระหว่างช่วงเสาเพื่อเพิ่มความอ่อนช้อย อ่อนหวาน พระราชนิเวศน์มฤคทายวันแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ประทับจะอยู่ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศเหนือเป็นที่อยู่ของข้าราชบริพาร ในส่วนของที่ประทับนั้น จะมีรั้วล้อมพระที่นั่งใหญ่ทั้ง 3 หมู่ทั้ง 3 ด้าน คือ‘พระที่นั่งสมุทรพิมาน’ ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารด้านหน้า ประกอบด้วย ห้องสรง ห้องพระบรรทม และห้องทรงพระอักษร ปัจจุบันมีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องเรือน ส่วนพระองค์ให้ชม ในอดีตนั้นเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับ จะมีการนำสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องเรือนต่างๆจากกรุงเทพฯ มายังพระราชวังแห่งนี้ อาคารส่วนกลางเป็นที่ซึ่งพระองค์โปรดประทับในเวลากลางวัน เป็นห้องโล่งกว้างที่มีเพียงลูกกรงกั้นโดยรอบ ลักษณะคล้ายกับศาลา ปัจจุบันจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐาน พระบรมรูปให้คนทั่วไปได้สักการะ จากด้านหน้าของพระที่นั่งองค์นี้ มีทางเดินทอดยาวไปจดชายหาดพร้อม ทั้งยังมีพลับพลาสำหรับเปลี่ยนเครื่องทรง เมื่อเสด็จลงสรงน้ำทะเลด้วย ‘พระที่นั่งพิศาลสาคร’ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา เป็นกลุ่มอาคารสำหรับฝ่ายใน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และเป็นเอกเทศจากส่วนที่ประทับ มีบันได ขึ้นลงชายหาดและพลับพลาริมทะเล ‘พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์’ ท้องพระโรงและโรงละคร เป็นอาคารชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องที่ประทับ ที่เสวย ห้องพระภูษา และห้องพักข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จฯ แต่ละห้องวางกระจายกันให้รับลม มีชาลาเชื่อม มีหลังคาคลุมติดต่อกัน ยาวต่อเนื่องไปจนถึงศาลาลงสรงที่ริมหาด แยกฝ่ายหน้าฝ่ายในไม่ปะปนกัน ตามโบราณราชประเพณี ส่วนที่อยู่ของข้า ราชบริพารนั้น อยู่นอกรั้วส่วนที่ประทับไปทางทิศเหนือ มีแนวถนนเลียบไปตามแนวชายหาด และมีอาคารบ้านพักข้าราชสำนัก ฝ่ายหน้าที่ตามเสด็จฯ รวมทั้งสิ้น ๒๘ หลัง ปัจจุบันยังคงเหลือเพียงแค่บ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตผสมไม้ นอกจากในส่วนของที่ประทับต่างๆแล้ว ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันอันสวยงามโอ่อ่าแห่งนี้ ก็ยังมีการจัดสวนในบริเวณโดยรอบ แม้ว่าสวนที่จัดขึ้นนี้จะไม่ได้มีการจัดมาตั้งแต่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะตามหลักฐานที่ปรากฏ ในภาพถ่ายปรากฏสภาพเป็นเพียงแค่ป่าชายหาดตามลักษณะภูมิประเทศ และถากเป็นพื้นโล่งเตียนโดยรอบหมู่พระที่นั่ง แต่เมื่อมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบพระราชนิเวศน์ โดยหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ผู้ออกแบบสวนซึ่งได้แรงรับบันดาลใจมาจาก บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสวนต่างๆดังนี้ ‘สวนเวนิสวานิช’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช สวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนสซอง สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานเพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ‘สวนศกุนตลา’ โดยการออกแบบให้เป็นลานกว้างใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ ตลอดทางที่ทอดยาวไปทางด้านหน้าของทางขึ้นพระราชวังรายล้อม ด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอก ที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพวาดสีน้ำมัน ‘สวนมัทนะพาธา’ ล้อมด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา อันเป็นบทละครพูดคำ ฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้อย่างถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ สวนมัทนะพาธานี้ ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยการเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น เพราะสามารถทนต่อแดด และไอทะเลได้ดีนั่นเอง พระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นพระราชวังที่นอกจากจะเต็มไปด้วยความรักและความหวังแล้ว ยังเต็มไปด้วยความสวยงามที่สามารถผสมผสานความเป็น ตะวันออกและตะวันตกได้อย่างลงตัวโดยไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ทั้งในเรื่องของการระบายอากาศสำหรับพระที่นั่งต่างๆ ที่สร้างเพื่อการมาพักผ่อน โดยการทำหน้าต่าง ประตูให้สามารถรับลมให้ได้มากที่สุด บรรยากาศที่ชวนให้สดชื่นด้วยลมทะเล ร่มรื่นไปด้วยต้นสนริมหาด ทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสีมรกต เสียงเกลียวคลื่นกระทบฝั่ง ที่ตั้ง: ค่ายพระรามหก ต.ห้วยเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ติดต่อ: โทร. 032-508039 ช่วงเวลาท่องเที่ยว: วันจันทร์-วันศุกร์ เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท (รับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ แต่ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก) การเดินทาง: จากชะอำ ใช้ถนนเพชรเกษม ผ่านสี่แยกชะอำ โรงแรมรีเจนท์ชะอำ จนถึงหลักกิโลเมตร 216 ทางซ้ายมือจะเป็นประตูทางเข้าค่ายพระรามหก เข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ริมทะเล มีป้ายบอกอยู่เป็นระยะ คุณเคยท่องเที่ยวที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันหรือไม่ขณะนี้375 มีผู้เข้าชมเว็บไซต์โหวตให้จำนวน 8.61 of 10 stars. แชร์ประสบการท่องเที่ยวของคุณได้ที่นี่: |
English Language ชะอำตั้งอยู่ไม่ไกลหัวหิน ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์เพียง 20 นาที สำหรับใครตที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ วิธีการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน ชายหาด ฯลฯ ท่านสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของเรา >> www.Hua-Hin.info >>. |
|
เกี่ยวกับชะอำ |
|
เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ |
โรงพยาบาล/คลีนิค |
ชายหาดทะเลชะอำ |
ร้านอาหาร |
ท่องราตรีที่ ชะอำ |
นวดแผนไทย สปา |
ซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ |
|
ซื้อ-ขายคอนโค/อพาร์ทเม้น |
ซื้อ-ขายบ้าน |
ซื้อ-ชาย พูลวิลล่า |
ซื้อขายที่ดินชะอำ |
รีสอร์ท ชะอำ |
|
ชะอำ สปอร์ต วิลเลจ | Tropicana รีสอร์ท ชะอำ |
Green Garden Resort | หุบกระพง เขาใหญ่ |
ข้อเสนอเพิ่มเติม |
|
สักยันต์ เสริมบารมี |
วันเดียวก็เที่ยวได้ เพชรบุรี ชะอำ หัวหิน |
นวดแผนไทย |
ข้อเสนอเพิ่มเติม |
เกี่ยวกับเรา |
|
สอบถาม/ติดต่อ |
การป้องกันข้อมูล |
ผู้เขียน รูปภาพประกอบ การออกแบบ |
ลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย |